สินค้าและบริการ
เกร็ดความรู้ | เกร็ดความรู้

    การเลือกซื้อแอร์ ข้อแนะนำต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศได้ดีขึ้น 1. ควรเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตและผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้ เพราะเครื่องปรับอากาศ โนเนมส่วนใหญ่จะมีกำลังความเย็น ( BTU ) น้อยกว่าที่แสดงไว้บนฉลาก หรือที่ภาษาช่างแอร์ เรียกว่าไม่เต็มบีทียู เครื่องปรับอากาศจากผู้ผลิตโนเนมส่นใหญ่มีกำลังความเย็นเพียง 70 - 80 % ของที่โฆษณาไว้ นอกจากจะมีกำลังความเย็นไม่เต็มบีทียูแล้ว อร์โนเนมยังมีเสียง ดังแล้วยังเสียเร็วด้วย 2. ควรเลือกใช้เครื่องปรับอากาศ ที่มีฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือเบอร์ 4 และได้มาตรฐาน อุตสาหกรรม(มอก.) เพราะได้รับการทดสอบความสามารถ ในการทำความเย็นแล้ว ซึ่งทำให้ท่านแน่ใจได้ว่าจะได้ เครื่องปรับอากาศที่ประหยัดไฟฟ้าและมีประสิทธิภาพเต็มบีทียู นอกจากนี้ควรพิจารณาประกอบกับผู้ผลิตที่มีความน่าเชื่อถือด้วย เนื่องจากว่าอาจจะ มีผู้ผลิตบางรายปลอมฉลากเบอร์ 5 ด้วย 3. เลือกใช้เครื่องปรับอากาศของผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายที่มีบริการหลังการขายที่ดี ข้อนี้เป็นข้อที่มีความสำคัญมากและผู้ให้บริการนั้นจะต้องมีความชำนาญและได้มาตรฐาน 4. มีมาตรฐานรับรองเช่น มอก. CE JIS ISO เป็นต้น 5. มีมาตรฐานการให้บริการหลังการขายที่ดี 6. การเลือกเครื่องต้องเหมาะกับห้องปรับอากาศ เนื่องจากการใช้งานติดต่อกันไม่น้อยกว่า 8 ปี และอากาศจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นทุกปี .............................................................................................................................................................................................. เคล็ดลับในการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด อกจากการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ถูกวิธีแล้ว ทาง “air-thai.com” ยังมีเคล็ดลับในการใช้เครื่องปรับอากาศให้ประหยัด และคุ้มค่าอีกหลายวิธีดังนี้ - ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอยู่เป็นประจำเพื่อให้การระบายความร้อนทำได้สะดวก - เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศใหม่ทดแทนเครื่องเก่าที่มีประสิทธิภาพต่ำหรือใช้งานมานาน - ลดความร้อนจากภายนอกที่ผ่านเข้ามายังบริเวณที่ปรับอากาศ โดยผ่านทางผนัง หน้าต่าง หลังคา และพื้น โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. การลดความร้อนผ่านผนัง 1.1 ผนังกระจกที่มีพื้นที่กระจกใส เป็นพื้นที่ที่ความร้อนสามารถผ่านเข้ามาในห้องได้มากที่สุด ควรป้องกันความร้อนดังนี้ - ใช้เครื่องบังแดดภายในอาคาร - ใช้กันสาดในแนวตั้งและแนวนอน หรือการหลบแนวหน้าต่างเข้ามาภายใน - สำหรับกระจกที่หันไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ควรติดกันสาดในแนวนอน - ส่วนกระจกที่หันไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ควรใช้กันสาดในแนวตั้ง - ปลูกต้นไม้บังแดดสำหรับกระจกทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก - ใช้ผ้าม่านหรือมู่ลี่สีอ่อนบังแดดภายในด้านหลังกระจก โดยเลือกใช้มู่ลี่ชนิดใบอยู่แนวนอนสำหรับสำหรับกระจกทางทิศเหนือ หรือทิศใต้ ส่วนกระจกทางทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกควรใช้กระจกกรองแสงหรือสะท้อนแสง - พยายามใช้กระจกเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอาคาร 1.2 ผนังอาคารที่เป็นปูน - ทาสีด้านนอกด้วยสีขาวหรือสีอ่อน หรือใช้วัสดุผิวมัน เช่น กระเบื้องเคลือบ เพื่อช่วยสะท้อนแสง - ควรปลูกต้นไม้หรือสร้างที่บังแดด เพื่อให้ร่มเงาแก่ผนัง - ผนังห้องห้องโดยเฉพาะด้านทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตก ซึ่งไม่มีเงากำบัง เป็นส่วนที่มีความร้อนมาก ควรบุฉนวนกันความร้อนหรือใช้เฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ เช่น ชั้นหนังสือหรือตู้เสื้อผ้า ตั้งกั้นไม่ให้ความร้อนแผ่เข้ามาในห้องเร็วนัก 1.3 ผนังอาคารที่เป็นไม้ หากมีช่องห่างของไม้มากควรตีผนังด้านในด้วยไม้อัด เพื่อกันการผ่านของความร้อนจากภายนอกเข้ามาในอาคาร 2. การลดความร้อนผ่านหน้าต่าง 2.1 หน้าต่างควรมีเฉพาะทิศเหนือหรือทิศใต้ของอาคาร เพื่อลดการรับแสงแดดโดยตรง 2.2 ต้องพยายามไม่ให้มีรอยรั่วตามขอบประตู หน้าต่าง หรือบริเวณฝ้าเพดาน 2.3 หน้าต่างส่วนที่เป็นกระจก ให้ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผนังกระจก 3. การลดความร้อนผ่านหลังคาและฝ้าเพดาน 3.1 หลังคาที่เป็นสังกะสีหรือกระเบื้อง ควรตีฝ้าหรือติดตั้งวัสดุสะท้อนความร้อน หรือบุฉนวนกันความร้อน เพื่อช่วยลดความร้อนที่จะแผ่เข้ามาใ 3.2 ถ้ามีช่องว่างระหว่างหลังคากับฝ้ามาก ควรเจาะช่องลมเพื่อระบายอากาศ จะทำให้ประหยัดการปรับอากาศได้ 4. การลดความร้อนผ่านพื้น หากเป็นพื้นไม้ควรอุดช่องระหว่างไม้ให้สนิท แอร์จะได้ไม่รั่วออกไป 5. การปรับปรุงห้องในส่วนอื่นๆ อาทิ จัดพื้นที่ในห้องซึ่งไม่ได้ใช้งานประจำ เช่น ตู้เสื้อผ้า ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ อยู่ทางทิศตะวันตก จะช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้ามาถึงห้อง ที่ใช้สอยประจำ คือส่วนนอน ทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าในการปรับอุณหภูมิลงได้ 6. การลดความร้อนจากดวงไฟและอุปกรณ์ภายใน 6.1 พยายามใช้แสงธรรมชาติช่วยส่องสว่างภายในอาคาร และควรจะปิดไฟที่ไม่จำเป็น 6.2 ภายในอาคารควรใช้สีอ่อน เพื่อช่วยในการสะท้อนแสง ทำให้ใช้ดวงไฟน้อยลง 6.3 เลือกใช้หลอดไฟที่มีประสิทธิภาพการส่องสว่างสูง เช่นหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์แทนหลอดไฟแบบมีไส้ 6.4 อุปกรณ์ที่ให้ความร้อนมากควรใช้นอกห้อง เช่น เตารีด เครื่องปิ้งขนมปัง หรือกาต้มน้ำ 6.5 ติดตั้งฝาครอบระบายอากาศสำหรับเครื่องหุงต้มทุกชนิด ถ้าจำเป็นต้องใช้ในห้องปรับอากาศ